เมนู

นี้ได้ด่าเรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา
คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมสงบ.
[807] ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ
ด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี
เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

จบ ทีฆีติโกสลชาดกที่ 1

อรรถกถาอัฑฒวรรคที่ 3


อรรถกถาทีฆีติโกสลชาดกที่ 1


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีผู้กระทำการทะเลาะทุ่มเถียงกัน จึงตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวํภูตสฺส เต ราช ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นมายังพระเชตวันวิหาร ขอให้
พระศาสดาทรงอดโทษ พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมาแล้วตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นโอรสของเรา ชื่อว่าบุตร
ผู้เกิดจากปาก อันบุตรทั้งหลายไม่ควรทำลายโอวาทที่บิดาได้ไว้ ก็เธอ
ทั้งหลายไม่กระทำตามโอวาท โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้โจรผู้ฆ่า
มารดาบิดาของตนแล้วยึดครองราชสมบัติ ตกอยู่ในเงื้อมมือในป่า ก็

ยังไม่ฆ่าด้วยคิดว่า จักไม่ทำลายโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ ดังนี้ แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ก็ในชาดกนี้ เรื่องทั้งสอง คือเรื่องปัจจุบันและเรื่องในอดีต จัก
มีแจ้งโดยพิสดารในสังฆเภทกะ. ก็ทีฆาวุกุมารนั้นจับพระจุฬาพระเจ้า-
พาราณสีผู้บรรทมหลับอยู่บนตักของตนในป่า เงื้อดาบขึ้นด้วยหมาย
ใจว่า บัดนี้ เราจักตัดโจรผู้ฆ่ามารดาบิดาของเรา ให้เป็น 14 ท่อน
ขณะนั้น ระลึกถึงโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้ จึงคิดว่า เราแม้จะสละ
ชีวิตก็จักไม่ทำลายโอวาทของท่าน จักคุกคามพระเจ้าพาราณสีนั้นอย่าง
เดียว จึงกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-
ข้าแต่พระราชา เมื่อพระองค์ตกอยู่ใน
อำนาจของข้าพระองค์อย่างนี้แล้ว เหตุอันใด
อันหนึ่งที่จะทำให้พระองค์พ้นจากทุกข์ได้ มี
อยู่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วเส มมํ ได้แก่ ผู้มาสู่อำนาจ
ของข้าพระองค์. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ เหตุ.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสคาถาที่ 2 ว่า :-
พ่อเอ๋ย เมื่อฉันตกอยู่ในอำนาจของ
ท่านอย่างนี้แล้ว เหตุอันใดอันหนึ่งที่จะทำให้
ฉันพ้นทุกข์ได้ ไม่มีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า
เหตุอะไร ๆ ที่จะทำให้ฉันพ้นจากทุกข์นั้น ย่อมไม่มี.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ข้าแต่พระราชา เว้นสุจริตและวาจาที่
เป็นสุภาษิตเสีย เหตุอย่างอื่นจะป้องกันได้
ในเวลาจะตาย ไม่มีเลย ทรัพย์นอกนี้ก็
เหมือนกันนั่นแหละ.
ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรว่า คนนี้ได้ด่า
เรา คนนี้ได้ฆ่าเรา คนนี้ได้ชนะเรา คนนี้ได้
ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่
สงบ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรว่า คน
นี้ได้ด่าเรา คนนั้นได้ฆ่าเรา คนนั้นได้ชนะเรา
คนนี้ได้ลักของ ๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น
ย่อมเข้าไปสงบ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ
ด้วยเวรเลย แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี
เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาญฺญํ สุจริตํ แก้เป็น นาญฺญํ
สุจริตา. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้แหละ อธิบายว่า เว้นสุจริตเสีย

เราไม่เห็นอย่างอื่น. ก็ในคาถานี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สุจริตบ้าง
สุภาษิตบ้าง ก็หมายเอาโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้เท่านั้น. บทว่า เอว-
เมว
ได้แก่ ไม่มีประโยชน์เลย. ท่านกล่าวอธิบายนี้ไว้ว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า เว้นจากสุจริตและวาจาสุภาษิต กล่าวคือการกล่าวสอน
และการพร่ำสอน อย่างอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อต่อต้านบอกกันในเวลาจะ
ตายย่อมไม่มี ทรัพย์นอกนี้ก็เหมือนกัน คือไม่มีประโยชน์เลย ก็บัดนี้
พระองค์จะให้ทรัพย์แม้ตั้งแสนโกฏิ แก่ข้าพระองค์ ก็จะไม่ได้ชีวิต
เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบว่า สุจริตและคำสุภาษิตเท่านั้น ยิ่งกว่า
ทรัพย์.
แม้คาถาที่เหลือก็มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- ข้าแต่มหา-
ราชเจ้า คนเหล่าใดเข้าไปผูกเวร คือตั้งเวรไว้ในหทัยเหมือนผูกไว้
อย่างนี้ว่า ผู้นี้ด่าเรา ผู้นี้ประหารเรา ผู้นี้ได้ชนะเรา ผู้นี้ได้ลักของ
เรา เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ. ส่วนคนเหล่าใดไม่เข้าไปผูก
คือไม่ตั้งเวรนั้นไว้ในหทัย เวรของตนเหล่านั้นย่อมสงบ เพราะใน
กาลไหน ๆ เวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับด้วยเวร แต่จะระงับด้วยความไม่
มีเวร ธรรมนั้นเป็นของเก่า อธิบายว่า ธรรมเก่าก่อน คือสภาวะที่
เป็นไปตลอดกาลนาน.
ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์ไม่ประทุษร้ายพระองค์ แต่พระองค์จง
ฆ่าข้าพระองค์เสียเถิด แล้ววางดาบในพระหัตถ์ของพระราชานั้น. ฝ่าย
พระราชาก็ทรงกระทำการสบถว่า เราจักไม่ประทุบร้ายท่าน แล้วเสด็จ

ไปพระนครพร้อมกับพระโพธิสัตว์นั้น ทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นแก่
อำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนพวกท่านทั้งหลาย ผู้นี้ คือที-
ฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าโกศล แม้ผู้นี้ก็ได้ให้ชีวิตเรา เราก็ไม่ได้
ทำอะไรกะผู้นี้ ครั้นตรัสแล้ว ได้ประทานธิดาของพระองค์แล้วให้
ดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของพระบิดา. ตั้งแต่นั้นมา พระราชา
ทั้งสองพระองค์ทรงสมัครสมานบันเทิงพระทัยครองราชสมบัติ.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า บิดามารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นตระกูลมหาราช
ส่วนทีฆาวุกุมาร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทีหีติโกสลชาดกที่ 1

2. มิคโปตกชาดก


คำพูดที่ทำให้หายเศร้าโศก


[808] การที่ท่านเศร้าโศกถึงลูกเนื้อผู้ละไปแล้ว
เป็นการไม่สมควรแก่ท่านผู้หลีกออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต สงบระงับ.
[809] ดูก่อนท้าวสักกะ ความรักของมนุษย์
หรือเนื้อย่อมเกิดขึ้นในใจ เพราะอยู่ร่วมกัน
มา มนุษย์หรือเนื้อนั้น อาตมภาพไม่สามารถ
ที่จะไม้เศร้าโศกถึงได้.
[810] ชนเหล่าใดมาร้องไห้รำพัน บ่นเพ้อถึง
ผู้ตายไปแล้ และผู้จะตายอยู่ ณ บัดนี้ การ
ร้องไห้ของชนเหล่านั้น สัตบุรุษทั้งหลาย
กล่าวว่า เปล่าจากประโยชน์ ดูก่อนฤๅษี
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าร้องไห้เลย.
[811] ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่ตายไปแล้ว ละไป
แล้ว หากจะพึงกลับเป็นขึ้นได้เพราะการ
ร้องไห้ เราก็จะประชุมกันทั้งหมดร้องไห้ถึง
พวกญาติของกันและกัน.